สมุนไพรเเก้ไอ ตำรับยาเเผนไทยขับเสมหะ
1. มะนาว
มะนาวมีฤทธิ์เป็นกรดอินทรีย์ มีรสเปรี้ยว ช่วยบรรเทาอาการอักเสบในลำคอได้ โดยในตำรับยาไทยนิยมใช้ทั้งน้ำคั้นจากผลสด ผสมเกลือเล็กน้อย เติมน้ำอุ่นอีกสักหน่อย แล้วจิบแก้ไอ นอกจากนี้ยังมีการใช้ผลมะนาวแห้ง นำไปดอง แล้วจิบน้ำมะนาวดองเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะในมะนาวมีวิตามินซีค่อนข้างสูงนั่นเอง
2. มะขามป้อม
มะขามป้อมอุดมไปด้วยวิตามินซีและสารกลุ่มแทนนิน แถมรสเปรี้ยวของมะขามป้อมยังช่วยละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้ดี โดยหากต้องการใช้มะขามป้อมแก้ไอก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการนำมะขามป้อมไปคั้นหรือต้มแล้วนำมาดื่ม หรือจะนำมะขามป้อมไปอมกับเกลือเฉย ๆ ก็ได้ ซึ่งการอมมะขามป้อมนอกจากจะช่วยแก้ไอและละลายเสมหะแล้ว ยังทำให้เราชุ่มคอ และช่วยบำรุงเสียงให้ใส ป้องกันเสียงแห้งอีกด้วย
มะขามป้อมอุดมไปด้วยวิตามินซีและสารกลุ่มแทนนิน แถมรสเปรี้ยวของมะขามป้อมยังช่วยละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้ดี โดยหากต้องการใช้มะขามป้อมแก้ไอก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการนำมะขามป้อมไปคั้นหรือต้มแล้วนำมาดื่ม หรือจะนำมะขามป้อมไปอมกับเกลือเฉย ๆ ก็ได้ ซึ่งการอมมะขามป้อมนอกจากจะช่วยแก้ไอและละลายเสมหะแล้ว ยังทำให้เราชุ่มคอ และช่วยบำรุงเสียงให้ใส ป้องกันเสียงแห้งอีกด้วย
3. ขิง
ขิงเป็นสมุนไพรรสเผ็ดร้อน ในตำรายาไทยใช้เหง้าขิงแก่ทั้งสดและแห้ง เป็นยาขับลม แก้อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะ และขับเหงื่อ โดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำหรือใช้ผงขิงแห้งชงน้ำดื่ม
4. มะขาม
สารสำคัญในมะขามคือ กรดทาร์ทาริก (Tartaric) มีฤทธิ์บรรเทาอาการไอ แก้อักเสบ โดยวิธีใช้ก็เพียงนำฝักแก่ของมะขามเปียกมาจิ้มเกลือรับประทาน หรือนำมะขามเปียกมาต้มกับน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย จะได้ยาขับเสมหะที่มีรสกลมกล่อม ทว่าเนื่องจากมะขามเปียกก็มีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะเดี๋ยวจะถ่ายท้อง
5. กระเทียม
กระเทียมเป็นสมุนไพรรสเผ็ดร้อน ช่วยขยายทางเดินหายใจ ทำให้หายใจสะดวกขึ้น อีกทั้งกระเทียมยังมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบ กระเทียมจึงเป็นสมุนไพรอีกตัวที่ช่วยบรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะได้ โดยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไอมากขึ้น แนะนำให้ใช้กระเทียมและขิงสดอย่างละเท่ากัน ตำละเอียดแล้วละลายกับน้ำอ้อยสด เสร็จแล้วคั้นจนได้น้ำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดมาจิบแก้ไอ ขับเสมหะ และทำให้เสมหะแห้ง หรือจะคั้นกระเทียมกับน้ำมะนาว แล้วเติมเกลือใช้จิบหรือกวาดคอก็ได้
กระเทียมเป็นสมุนไพรรสเผ็ดร้อน ช่วยขยายทางเดินหายใจ ทำให้หายใจสะดวกขึ้น อีกทั้งกระเทียมยังมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบ กระเทียมจึงเป็นสมุนไพรอีกตัวที่ช่วยบรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะได้ โดยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไอมากขึ้น แนะนำให้ใช้กระเทียมและขิงสดอย่างละเท่ากัน ตำละเอียดแล้วละลายกับน้ำอ้อยสด เสร็จแล้วคั้นจนได้น้ำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดมาจิบแก้ไอ ขับเสมหะ และทำให้เสมหะแห้ง หรือจะคั้นกระเทียมกับน้ำมะนาว แล้วเติมเกลือใช้จิบหรือกวาดคอก็ได้
6. มะเขือเปราะ
มะเขือเปราะหรือมะเขือแจ้ มีฤทธิ์ช่วยลดไข้ ลดอาการอักเสบ แก้ไอ แก้พิษร้อนในร่างกาย แถมยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกต่างหาก ถ้ามีติดครัวในบ้านอยู่ก็ลองนำมะเขือเปราะมาจิ้มน้ำพริกกินแก้ไอได้เลยค่ะ
7. สับปะรด
สับปะรดจัดเป็นผลไม้ฉ่ำน้ำที่มีรสหวานอมเปรี้ยว ช่วยเพิ่มความชุ่มคอในคนที่มีอาการไอแห้ง ๆ โดยถ้ามีอาการเจ็บคอร่วมด้วยอาจดื่มน้ำสับปะรดผสมเกลือเล็กน้อย หรือจะกินสับปะะรดเป็นชิ้น ๆ จิ้มเกลือก็ได้เช่นเดียวกัน ทว่าหากยังท้องว่าง ไม่ได้กินอะไร ก็อย่าเพิ่งกินสับปะรดนะคะ เพราะเอนไซม์ในสับปะรดอาจกัดกระเพาะเอาได้ ดังนั้นกินสับปะรดแก้ไอหลังมื้ออาหารจะดีที่สุด ได้ทั้งบรรเทาอาการคอแห้ง ไอแห้ง ๆ อีกทั้งยังได้เอนไซม์ในสับปะรดช่วยย่อยอาหารให้ด้วย
สับปะรดจัดเป็นผลไม้ฉ่ำน้ำที่มีรสหวานอมเปรี้ยว ช่วยเพิ่มความชุ่มคอในคนที่มีอาการไอแห้ง ๆ โดยถ้ามีอาการเจ็บคอร่วมด้วยอาจดื่มน้ำสับปะรดผสมเกลือเล็กน้อย หรือจะกินสับปะะรดเป็นชิ้น ๆ จิ้มเกลือก็ได้เช่นเดียวกัน ทว่าหากยังท้องว่าง ไม่ได้กินอะไร ก็อย่าเพิ่งกินสับปะรดนะคะ เพราะเอนไซม์ในสับปะรดอาจกัดกระเพาะเอาได้ ดังนั้นกินสับปะรดแก้ไอหลังมื้ออาหารจะดีที่สุด ได้ทั้งบรรเทาอาการคอแห้ง ไอแห้ง ๆ อีกทั้งยังได้เอนไซม์ในสับปะรดช่วยย่อยอาหารให้ด้วย
8. กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดงมีสารอาหารค่อนข้างมาก ทั้งเพกติน วิตามินซี วิตามินเอ และสารต้านอนุมูลอิสระชนิดแอนโทไซยานิน จึงมีสรรพคุณช่วยแก้อักเสบ และเมื่อนำกลีบดอกกระเจี๊ยบแดงมาต้มเป็นน้ำสมุนไพร น้ำกระเจี๊ยบก็จะออกรสเปรี้ยวอมหวาน มีสรรพคุณทำให้ชุ่มคอ ลดอาการระคายเคืองและช่วยบรรเทาอาหารไอได้
9. มะแว้งต้น/มะแว้งเครือ
มะแว้งต้นหรือมะแว้งเครือ เป็นสมุนไพรที่มีวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และมีสารสำคัญคืออัลคาลอยด์ ชนิดโซลาโซดีน (Solasodine) และโซลานีน (Solanine) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและระบบการหายใจ จึงช่วยบรรเทาอาการไอได้ นอกจากนี้ ในผลมะแว้งต้นและมะแว้งเครือยังมีสารลิกนิน (Lignin) และซาโปนิน (Saponin) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนยาปฏิชีวนะช่วยระงับการอักเสบและละลายเสมหะได้ดี
มะแว้งต้นหรือมะแว้งเครือ เป็นสมุนไพรที่มีวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และมีสารสำคัญคืออัลคาลอยด์ ชนิดโซลาโซดีน (Solasodine) และโซลานีน (Solanine) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและระบบการหายใจ จึงช่วยบรรเทาอาการไอได้ นอกจากนี้ ในผลมะแว้งต้นและมะแว้งเครือยังมีสารลิกนิน (Lignin) และซาโปนิน (Saponin) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนยาปฏิชีวนะช่วยระงับการอักเสบและละลายเสมหะได้ดี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น